วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3 วันที่ 12 /09/2559

Record 3   12 september 2016





เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ


                                วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง  STEM / STEAM Education  



    - ก่อนเริ่มเข้าทฤษฎี อาจารย์ได้ทบทวนเพลงภาษาอังกฤษ โดยให้เพื่อนคนที่มาสายเต้นตามเพลงที่เพื่อนเพื่อนร้อง





                 


  - ทำกิจกรรมร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็แจกหนังสือพร้อมกับเริ่มเข้าเนื้อหา










 STEM / STEAM Education (เกิดครั้งแรกที่ อเมริกา )
  

  STEM” คืออะไร (ชลาธิป สมาหิโต: 2557) 

  • เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 
  • นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
  • เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน


STEM Education (สะเต็มศึกษา)

  • Science
  • Technology
  • Engineering
  • Mathematics


Science (วิทยาศาสตร์)

  • การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
  • เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

Technology (เทคโนโลยี) 


  • วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
  • สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต 
  • ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร, กบเหลาดินสอ เป็นต้น

Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)

  • ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง 
  • กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1) 
  • ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

Mathematic (คณิตศาสตร์)

  • วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225) 
  • เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ 
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ 
  • เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ ทุกเวลาอีกด้วย 

“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย

  • “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น 
  • การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 
  • ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 

STEAM Education

  • การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” 
  • เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

STEAM Education (สะตีมศึกษา)
  • Science
  • Technology
  • Engineering
  • Art
  • Mathematics










 - กิจกรรมที่หนึ่ง อาจารย์แนะนำอุปกรณ์ และสาธิตวิธีทำ แต่อาจารย์ให้นักศึกษาทำผีเสื้อตามจินตนาการของตัวเอง
อุปกรณ์มี  
  • จานกระดาษ
  • ไม้ไอติม
  • สีเทียน



นี่คือผลงานของกลุ่มดิฉัน 






  - กิจกรรมที่สอง อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างกรงผีเสื้อจากกิ่งไม้ที่นักศึกษาเตรียมมา ตามจินตนาการ





ผลงาน กรง ผีเสื้อ ของกลุ่มเรา







    - กิจกรรมสุดท้ายคือ อาจารย์ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อพร้อมกับตัดต่อภาพให้เป็นวีดีโอ โดยใช้โปรแกรม Spot Motion


และนี่คือวงจรชีวิตผีเสื้อของกลุ่มดิฉัน


                                      




ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม


ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ทุกคนสนุกกับกิจกรรมที่ทำเป็นอย่างมาก


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น