วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่1 วันที่ 29/08/59




Record 1   29 August 2016






เนื้อหาการเรียนการสอน(Knowledge)

-วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรกเริ่มต้นด้วยการพูดคุยกันระหว่างครูและนักศึกษาหลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกใบปั๊มเช็คชื่อแล้วจึงเริ่มการเรียนการสอน




- อาจารย์สอนร้องเพลงทั้งหมด 5 เพลง เป็นเพลงภาษาอังกฤษอย่างง่าย



การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย




ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

- jellen and Urban ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
- De Bono  ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหา

คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์

  • - คุณค่าต่อสังคม
  • - คุณค่าต่อตัวเอง
  • - ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • - ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
  • -มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
  • - นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
  • - ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
  • - ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ


องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์Guilford

ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
• ด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
• ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Association Fluency)

• ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)

• ด้านการคิด (Ideation Fluency)

2. ความคิดริเริ่ม (Originality)

• ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา     หรือแตกต่างจากบุคคลอื่น
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
• ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)

• ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapture Flexibility)

4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

• ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
• เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์

Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

• ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ

• ระยะ 2 -4 ขวบ

• ระยะ 4-6 ขวบ

• แรกเกิด-2ปี มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

• 2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น

• 4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก

ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น


• ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ

• ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง

• ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร

• ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3

• ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
• ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่

• อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล

• ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี

• ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ

• ช่วยให้ปรับตัวได้ดี

แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford

อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ 

มิติที่ 1 เนื้อหา

(ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)

ภาพ
สัญลักษณ์
ภาษา
พฤติกรรม

มิติที่ 2 วิธีคิด

(กระบวนการทำงานของสมอง)
                  การรู้และเข้าใจ
                  การจำ
                  การคิดแบบอเนกนัย
                  การคิดแบบเอกนัย
                  การประเมินค่า

มิติที่ 3 ผลของการคิด

(การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
                  หน่วย
                  จำพวก
                  ความสัมพันธ์
                  ระบบ
                  การแปลงรูป
                  การประยุกต์
ทฤษฎี Constructivism
                  เด็กเรียนรู้เอง
                  เด็กคิดเอง
                  ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
                  สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

ทฤษฎีของ Torrance
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
                  ขั้นที่ 1 การพบความจริง
                  ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
                  ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
                  ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
                  ขั้นที่ 5 ยอมรับผล

บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
                  เด็กรู้สึกปลอดภัย
                  ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
                  ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
                  ขจัดอุปสรรค
                  ไม่มีการแข่งขัน
                  ให้ความสนใจเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
                  มีไหวพริบ
                  กล้าแสดงออก
                  อยากรู้อยากเห็น
                  ช่างสังเกต
                  มีอารมณ์ขัน
                  มีสมาธิ
                  รักอิสระ
                  มั่นใจในตนเอง
                  อารมณ์อ่อนไหวง่าย
                  ไม่ชอบการบังคับ
                  ชอบเหม่อลอย
                  ซาบซึ้งกับสุนทรียภาพ
                  มีความวิจิตรพิสดาร
                  ชอบสร้างแล้วรื้อ รื้อแล้วสร้างใหม่
ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

      •                  Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
                  ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
                  ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 
          (Producing Something and Using It)

           •                     ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก 
                      (Using Pupil Question)
1.            คำถามที่ส่งเสริมความคิดคล่องแคล่ว
-คิดให้ได้มากที่สุด
2.            คำถามที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม
-คิดหรือทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน
    คำถามที่ส่งเสริมความคิดยืดหยุ่น
-ได้คำตอบที่หลากหลาย
       คำถามที่ส่งเสริมความคิดละเอียดลออ
-คิดให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ

แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance
  •                   ส่งเสริมให้เด็กถาม
  •                   เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
  •                   ยอมรับคำถามของเด็ก
  •                  ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
  •                   แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
  •                   เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
  •                   ค่อยเป็นค่อยไป
  •                   ยกย่องชมเชย
  •           ไม่มีการวัดผล

การตั้งคำถาม 5W1H
                  Who ใคร
                  What อะไร
                  Where ที่ไหน
                  When เมื่อไหร่
                  Why ทำไม
                  How อย่างไร
ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง
ความคิดสร้างสรรค์ให้เห็นอยู่ตลอด


       




-เมื่อจบกิจกรรมการเรียนการสอนอาจารย์ได้เสริมกิจกรรมการสอนโดยให้นักศึกษาพับจรวดและให็ปาจรวจให้เข้ากล้อง
มีโอกาสคนละ 2 ครั้ง










-กิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานโดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยการฟังเพลงและลากเส้นตามจินตนากานโดยที่ไม่ยกมือขึ้นจากกระดาษ








-ความรู้ที่ได้และการนำไปประยุกต์
ได้รู้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์และได้รู้จักทฤษฏีต่างๆและสามารถเอาการเรียนการสอนที่อาจารย์นำมาสอนนี้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้


-การประเมิน
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินตัวเอง - ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและสอนอย่างเต็มที่