วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559
การบันทึกครั้งที่ 4 วันที่ 19/09/2559
Record 4 19 september 2016
ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ติดประชุมแต่อาจารย์ได้ให้ใบงานมาทำเป็นกลุ่ม
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
การบันทึกครั้งที่ 3 วันที่ 12 /09/2559
Record 3 12 september 2016
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง STEM / STEAM Education
- ก่อนเริ่มเข้าทฤษฎี อาจารย์ได้ทบทวนเพลงภาษาอังกฤษ โดยให้เพื่อนคนที่มาสายเต้นตามเพลงที่เพื่อนเพื่อนร้อง
- ทำกิจกรรมร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็แจกหนังสือพร้อมกับเริ่มเข้าเนื้อหา
STEM / STEAM Education (เกิดครั้งแรกที่ อเมริกา )
STEM” คืออะไร (ชลาธิป สมาหิโต: 2557)
- เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
- นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
- เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM Education (สะเต็มศึกษา)
- Science
- Technology
- Engineering
- Mathematics
Science (วิทยาศาสตร์)
- การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
- เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology (เทคโนโลยี)
- วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
- สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
- ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร, กบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
- ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
- กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
- ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
Mathematic (คณิตศาสตร์)
- วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)
- เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
- ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
- เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ ทุกเวลาอีกด้วย
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
- “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
- การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
- ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น
STEAM Education
- การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
- เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
STEAM Education (สะตีมศึกษา)
นี่คือผลงานของกลุ่มดิฉัน
- กิจกรรมที่สอง อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างกรงผีเสื้อจากกิ่งไม้ที่นักศึกษาเตรียมมา ตามจินตนาการ
ผลงาน กรง ผีเสื้อ ของกลุ่มเรา
- กิจกรรมสุดท้ายคือ อาจารย์ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อพร้อมกับตัดต่อภาพให้เป็นวีดีโอ โดยใช้โปรแกรม Spot Motion
และนี่คือวงจรชีวิตผีเสื้อของกลุ่มดิฉัน
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
การบันทึกครั้งที่ 2 วันที่ 05/09/59
- ก่อนจะเริ่มกิจกรรมอาจารย์ได้ให้ คลิปวีดีโอ สาธิตความปลอดภัยบนรถเมย์
- ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำกิจกรรม Marshmallow Tower เพื่อที่จะให้นักศึกษาเกิดทักษะของการคิดสร้างสรรค์ เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มเกิดการวางแผนก่อนการทำงาน
อุปกรณ์ คือ
1.กระดาษ 1 แผ่น
2. ดินน้ำมัน 3 แท่ง
3.ไม้จิ้มฟัน
อุปกรณ์ คือ
1.กระดาษ 1 แผ่น
2. ดินน้ำมัน 3 แท่ง
3.ไม้จิ้มฟัน
รอบที่ 1 ให้ทุกคนภายในกลุ่มต่ออุปกรณ์ทั้ง 3 อย่างนี้ ยังไงก็ได้ให้สูงที่สุดโดยห้ามพูดคุย
กันในกลุ่ม
รอบที่ 2 ให้ 1 คนในกลุ่มพูดได้แต่ไม่ให้ช่วย เพราะต้องเป็นคนออกคำสั่งให้เพื่อนทำ
รอบที่ 3 ทุกคนภายในกลุ่มพูดคุยกันได้ปรึกษา และระดมความคิดของคนในกลุ่ม
ผลออกมาคือ กลุ่มของดิฉันทำได้
รอบที่ 1 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 34
รอบที่ 2 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 44
รอบที่ 3 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 55
- พอทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ก็สอนเกี่ยวทฤษฎี
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น
- กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
- ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
- ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
- สำรวจ จับต้องวัตถุ
- ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
- อายุ 1 ½ - 2 ปี
- การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
- เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
- 2 ขวบขึ้นไป
- สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
- เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ
- ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
- ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่นกลางแจ้ง
- การเล่นในร่ม
- การเล่นในร่ม
การเล่นตามมุมประสบการณ์
- การเล่นสรรค์สร้าง
- การเล่นสรรค์สร้างการเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
- ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
- เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
- เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
- การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
- การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
- การเรียนรู้เหตุและผล
การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
- ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
- กระบวนการเรียนรู้
- กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
- เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
- การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
- ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
- ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
- มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- มีการสรุปท้ายกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ก็คือ อาจารย์ให้จับเหมือนเดิม เพื่อทำกิจกรรม เรือน้อยบรรทุกของ เรือที่ประดิษฐ์จะเป็นแบบไหนก็ได้ ตามความคิดสร้างสรรค์ของคนในกลุ่ม โดยที่ อาจารย์มีอุปกรณ์ให้ก็คือ กระดาษ,หลอด,หนังยาง ทำยังไงก็ได้ให้บรรทุกซอลให้ได้เยอะที่สุด
ผลออกมาของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มแรกบรรทุกได้ 19 ซอง
กลุ่มที่สองบรรทุกได้ 45 ซอง
กลุ่มที่สามบรรทุกได้ 52 ซอง
กลุ่มที่สี่บรรทุกได้ 22 ซอง
กลุ่มดิฉันบรรทุกได้ 12 ซอง
กลุ่มที่หกบรรทุกได้ 17 ซอง
กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษานำหนังสือพิมพ์ที่อาจารย์สั่งขึ้นมา จับกลุ่มเหมือนเดิมเพื่อทำกิจกรรม ดีไซเนอร์ระดับโลก ทำตามหัวข้อที่กำหนด
-การประเมิน
ประเมินเพื่อน - เพื่อนตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินตัวเอง - ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและสอนอย่างเต็มที่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)